1. นิมนต์พระ หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่ ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ นิมนต์เจ้าค่ะ" ( ใช้คำไฮโซมาก) มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์ " ( เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว) การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ทำไมต้องตะคอกด้วย) การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง " ทำเอาเสีย self จนอยากสึกออกไปทำ baby face โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์ หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ
ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ 111 ซอย 5 ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ 10020 EMAIL: webmaster@postalcustoms.com “**^^จงจดจำคำชมที่ได้รับ และลบลืมคำดูถูกที่ได้ยิน"^^**