ลองมาดูกันดีกว่าครับว่าสินค้าที่ท่านรู้จักจะมีอัตราอากรในอัตราปกติ ที่หากท่านนำเข้ามาจะต้องเสียเท่าใด?
1.โค, กระบือมีชีวิต อัตราอากร 5% และไม่เกิน 200 บาทต่อตัวไม่ว่าจะมีราคาเท่าใด
2.สุกรมีชีวิต 10%
3.แพะ,แกะ มีชีวิต 30%
4.ไก่, เป็ด, ห่าน มีชีวิต 30%
5.แมว,สุนัข มีชีวิต 30%
6.เนื้อสัตว์จำพวกโค,กระบือ 50%
7.เนื้อหมู 30 – 40%
8.ปลาเลี้ยงสวยงาม 30% ถ้านำเข้าทางด่านฯที่ไม่ใช่สนามบิน 5%
9.ปลาสดหรือแช่เย็น 5%
10.ปลาแห้งหรือแช่เกลือ 5%
11.ปู, กุ้ง, หอย 5%
12.นมและครีม 40%
13.นมผงใช้เลี้ยงทารก 18%
14.เนย, เนยแข็ง 30%
15.ไข่ไก่, ไข่เป็ด 27%
16.น้ำผึ้ง 30%
17.ผมคน 1%
18.เขี้ยวและงาสัตว์ 30%
19.เปลือกหอย 30%
20.แมลงวันสเปน 30%

21.ชะมดเชียง 30%
22.หัว, หน่อ, แขนงของพืช 30%
23.ต้นไม้ 30%
24.ดอกไม้ 54%
25.มันฝรั่งสด, แช่เย็น 60% หรือ กก.ละ 6.25 บาท
26.มะเขือเทศ 40%
27.หอม, หอมแดง, กระเทียม 60% หรือ กก.ละ 6.25 บาท
28.มะพร้าว 40% หรือ กก.ละ 33.50 บาท
29.กล้วย 40% หรือ กก.ละ 33.50 บาท
30.องุ่น 30% หรือ กก.ละ 25 บาท
31.แอปเปิ้ล 10% หรือ กก.ละ 3 บาท
32.กีวี 40% หรือ กก.ละ 33.50 บาท
33.เมล็ดกาแฟ 40% หรือ กก.ละ 4 บาท
34.ชา 60%
35.ชาปรุงกลิ่น, ชามาเต้ 30%
36.ไส้กรอก 30%
37.หมากฝรั่ง 30%
38.ลูกกวาด 30%
39.ช็อกโกแลต 10%
40.โอวัลติน 5%
41.พาสต้า, สปาเก็ตตี้ 30%
42.คอร์นแฟล็ก 20%
43.ขนมปัง 30%
44.บิสกิต, แวฟเฟิล, เวเฟอร์ 20%
45.เนสกาแฟ 60%
46.คอฟฟี่เมท 5%
47.ซอสถั่วเหลือง 30%
48.ซอสมะเขือเทศ 30%
49.ซอสพริก 5%
50.กะปิ, น้ำปลา 5%

51.ไอศกรีม 30%
52.น้ำอัดลม 30%
53.ไวน์ 60%
54.สุรา 60%
55.น้ำส้มสายชู 60%
56.อาหารสัตว์ 9%
57.บุหรี่ 60%
58.เกลือ 10%
59.น้ำทะเล 10%
60.ทรายธรรมชาติ ยกเว้นอากร
61.สินแร่ 1%
62.น้ำมันดีเซล, เบนซิน 0.01 บาทต่อลิตร
63.พลังงานไฟฟ้า ยกเว้นอากร
64.ยารักษาและป้องกันโรค 10%
65.ปุ๋ยอินทรีย์ ยกเว้นอากร
66.ปุ๋ยเคมี 5%
67.สบู่ 10%
68.ยาขัดเงา, ขัดรองเท้า 10%
69.เครื่องสำอาง 40%
70.แชมพู, ครีมโกนหนวด 20%
71.ยาสีฟัน 20%
72.ไหมขัดฟัน 10%
73.น้ำหอม 40%
74.ระเบิด 20%
75.ดอกไม้ไฟ, ไม้ขีดไฟ 20%
76.ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายแล้ว 10 บาทต่อเมตร
77.ถุงยางคุมกำเนิด 10%
78.กระเป๋าถือ, กระเป๋านักเรียน, กระเป๋าเดินทาง 40%
79.ไม้ซุง, ไม้แปรรูป 1%
80.หน้าต่าง, ประตู, เสาบ้าน 30%

81.กระดาษคาร์บอน ยกเว้นอากร
82.ซองจดหมาย 10%
83.กระดาษชำระ, กระดาษผ้าอ้อม 10%
84.สมุดบัญชี, สมุดบันทึก 10%
85.หนังสือพิมพ์เป็นเล่ม ยกเว้นอากร
86.หนังสือพิมพ์, วารสาร ยกเว้นอากร
87.แผนที่, ลูกโลก ยกเว้นอากร
88.แสตมป์ใหม่, ธนบัตร ยกเว้นอากร
89.พรม 30% หรือ 21 บาทต่อ กก.
90.ผ้าทอเป็นผืน 5% หรือ 3.75 ต่อ กก.
91.ผ้าถักเป็นผืน 5% หรือ 4 บาทต่อ กก.
92.เสื้อ, กางเกง, กระโปรง ผ้าถัก 30%
93.เสื้อ, กางเกง, กระโปรง ผ้าทอ 60%
94.เสื้อยืด 30%
95.ยกทรง 60%
96.ผ้าห่ม 30%
97.ผ้าปูโต๊ะ, ปูเตียง 30%
98.ผ้าใบ 30%
99.รองเท้ากีฬา 30%
100.รองเท้าอื่นๆ 40%
101.หมวก 30%
102.ร่ม 30%
103.วิกผม 30%
104.เพชรเจียระไน ยกเว้นอากร
105.แหวนเพชร 20%
106.เครื่องยนต์รถ, เรือ 10%
107.เครื่องปรับอากาศ 10%
108.เครื่องดับเพลิง 5%
109.รอก, เครื่องผ่อนแรง 5%
110.ปั้นจั่น 5%

111.ลิฟท์ 10%
112.บูลโดเซอร์ 5%
113.เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร 5%
114.เครื่องรีดนม 1%
115.เครื่องพิมพ์ ยกเว้นอากร
116.เครื่องทอผ้า 5%
117.เครื่องซักผ้า 30%
118.คอมพิวเตอร์ ยกเว้นอากร
119.โรลเลอร์, แบริ่ง 1%
120.มอเตอร์ 10%
121.เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 10%
122.หม้อแปลงไฟฟ้า 10%
123.แบตเตอรี่ 10%
124.ไมโครโฟน, ลำโพง 10%
125.เครื่องขยายเสียง 10%
126.โปรเจคเตอร์ 20%
127.เครื่องรับโทรทัศน์ 20%
128.ตัวเก็บประจุ, ตัวต้านทานไฟฟ้า ยกเว้นอากร
129.กล้องวิดีโอ 3%
130.กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 3%

131.กล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์ม 5%
132.รถไฟ 1%
133.รถแทรกเตอร์ 5%
134.รถยนต์ 80%
135.รถโกคาร์ต 80%
136.รถพยาบาล 10%
137.รถบรรทุก 40%
138.รถดับเพลิง 10%
139.รถถัง ยกเว้นอากร
140.รถจักรยานยนต์ 60%
141.รถจักรยาน 30%
142.บอลลูน 1%
143.เครื่องบิน ยกเว้นอากร
144.ร่มชูชีพ 5%
145.เรือโดยสาร 10%
146.เรือยอชต์ ยกเว้นอากร
147.แว่นตา 5%
148.กล้องจุลทรรศน์ 3%
149.เข็มทิศ 3%
150.เทอร์โมมิเตอร์ ยกเว้นอากร

151.แท็กซี่มิเตอร์ 10%
152.นาฬิกาข้อมือ 5%
153.นาฬิกาแขวน 20%
154.เครื่องดนตรี 10%
155.ปืนใหญ่ ยกเว้นอากร
156.ปืนพก 30%
157.ที่นั่ง (เก้าอี้) 20%
158.เฟอร์นิเจอร์ 20%
159.อาคารสำเร็จรูป 20%
160.ตุ๊กตาและของเล่น 20%
161.วิดีโอเกม 20%
162.โบว์ลิ่ง 20%
163.ม้าหมุน, ชิงช้า 20%
164.ไม้กวาด 20%
165.ปากกา 5%
166.ดินสอ 20%
167.กล้องซิการ์, กล้องยาเส้น 20%
168.หุ่นโชว์ 20%
169.แสตมป์สะสม 20%
170.โบราณวัตถุที่อายุเกิน 100 ปี ยกเว้นอากร
ผมกะยกตัวอย่างสัก 100 ชนิด แต่ทำไปทำมาเปิดหนังสือพิกัดอัตราศุลกากรไป เห็นอะไรก็อยากจะให้ท่านรู้ ก็เลยกลายเป็น 170 ชนิดสินค้าไป อันว่าหนังสือพิกัดอัตราศุลกากรนั้น เป็นหนังสือซึ่งจะต้องรวบรวมของทั้งหลายในโลกนี้ไว้ให้ได้หมด ยกเว้นก็แต่คนกับศพ ที่ไม่ถือว่าเป็นสินค้าและไม่ต้องพิธีการศุลกากร อย่างใบขนสินค้า ฉะนั้น ท่านจะเห็นเป็นหนังสือเล่มใหญ่ๆ น่าหนุนหัวนอนนัก แต่นั้นเป็นหนังสือหากินของชาวศุลกากรเลยละ ใครรู้เรื่องพิกัด ใครชำนาญในการแยกสินค้า ชาวกรมศุลกากรเราถือว่าเป็นสุดยอดครับ
สินค้า ที่ผมยกตัวอย่างมาให้เห็น บางชนิดท่านอาจจะไม่เคยเห็น หรือไม่เคยรู้จัก และบางชนิดก็เป็นสินค้าที่ไม่อาจจะเห็น เช่น พลังงานไฟฟ้า ที่ก็ถือว่าเป็นสินค้าเช่นกัน แต่นั้นก็ยังไม่แปลกเท่ากับสินค้าหนึ่งที่ผมเคยตรวจครั้งที่ทำงานอยู่ ดอนเมือง ท่านผู้ชมจะคาดคิดได้ไหมครับว่า สินค้าชนิดนี้จะเป็นสินค้าได้ และต้องเสียภาษี สินค้านั้นคือ “ขี้” ครับ “ขี้คน” นี่แหละครับ ที่เป็นสินค้านำเข้ามาเพื่อชำระอากร เรื่องของเรื่องก็คือว่ามีแล็บในประเทศอินเดียส่ง อุจจาระหรือ “ขี้” ของคนไข้ มาตรวจที่แล็บในประเทศไทย ซึ่งคงจะมีความเชี่ยวชาญกว่า ก็เลยต้องมาทำพิธีการศุลกากร ชำระภาษีอากร และก็ได้นายตรวจอย่างผมเป็นคนตรวจ...!!!

เพราะความซับซ้อนของสินค้า ทำให้การจัดเข้าประเภทพิกัดอัตราศุลกากร บางครั้งก็ยุ่งยากทำให้เกิดการโต้เถียงขัดแย้งกัน ผู้นำเข้าก็อยากจะเสียอากรต่ำ เจ้าหน้าที่ก็อยากจะเก็บภาษีสูง มีการหลบหลีกหลบเลี่ยง ตีความกันสารพัด อย่างเช่น กาแฟเป็นต้น ลำพังถ้าเป็นเพียงกาแฟบด กาแฟคั่วหรือกาแฟอินแสตนท์ ก็ยังไม่ต้องถกเถียงกันว่าจะต้องเข้าพิกัดกาแฟ แต่พอเป็นกาแฟทรีอินวัน ที่ใส่ซองเป็นผงๆ เวลาจะกินก็เทออกมาใส่น้ำร้อนชงกิน ในทางการค้าก็ยังเป็นกาแฟอยู่ เพราะโฆษณาออกปาวๆ ชักชวนให้มาดื่มกาแฟ แต่ในทางพิกัดอัตราศุลกากร ต้องถึงกับมีการตีความว่า จะต้องมีกาแฟผสมอยู่เป็นจำนวนเท่าไหร่ ถึงจะจัดถือเป็นกาแฟ สรุปว่า ถ้ามีกาแฟผสมอยู่ไม่ถึง 12% ก็ให้ถือว่าเป็นอาหารปรุงแต่ง ไม่ต้องเข้าพิกัดกาแฟ ซึ่งอัตราแพงกว่า และที่สำคัญต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมการค้าต่างประเทศเสียก่อน ยุ่งยากวุ่นวายกว่า
ภาษี ศุลกากร จัดเก็บง่ายๆไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพียงเอาราคาของมาคูณเข้ากับอัตราอากร ก็เป็นภาษีศุลกากรแล้ว แต่นั่นก็ยังไม่ได้ทำให้ใครหลายคน อยากจะเสียภาษีนัก บริษัทฯใหญ่ๆมีหน้ามีตาชั้นนำในประเทศไทยนั่น ถูกกรมศุลกากรจับกุมข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีมาแล้วทั้งนั้น อย่าให้เอ่ยเลย ขี้เกียจขึ้นศาล ยินยอมจ่ายแต่โดยดีบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง ให้ผู้ใหญ่มาบีบขอเสียน้อยหน่อยบ้าง แล้วแต่กำลังวังชาของใครจะมีมากแค่ไหน
แต่ มีอยู่อย่างหนึ่งที่ประหลาดมาก คือแต่โบราณนั้นภาษีศุลกากรคือภาษีที่เก็บได้มากที่สุด ในบรรดาภาษีอื่นทั้งหมด แต่อยู่ไปๆปัจจุบันนี้ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้เป็นอันดับสาม เป็นรองสรรพากร และสรรพสามิตไปแล้ว แต่นั่นในทางเศรษฐกิจกลับถือเป็นเรื่องที่ควรยินดี เพราะหลักทางเศรษฐศาสตร์เขาว่า “ประเทศใดเก็บภาษีศุลกากรได้ต่ำลงๆถือว่ามีความเจริญทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น”...!!!
ประเทศไทยกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครับท่านผู้ชม....!!!!!!!!

ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/blog/Pepsi8/2008/06/11/entry-1